ตัวกรองผลการค้นหา
เข้าตู้
หมายถึง(ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตำราที่เก็บไว้ในตู้.
ลูกเหม็น
หมายถึงน. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
หลบ
หมายถึง[หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่น หลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะการมุงหลังคาตรงอกไก่).
เท้า
หมายถึงน. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
สังเค็ด
หมายถึงน. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
สมบัติบ้า
หมายถึงน. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
อะไร
หมายถึงส. คำใช้แทนนาม แสดงคำถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คำใช้แทนนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
ทึบ
หมายถึงว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
เม็ดมะยม
หมายถึงน. ปุ่มสำหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
ลงขัน
หมายถึงก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็นไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
ชน
หมายถึงก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
ขยับ
หมายถึง[ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทำท่าว่าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่นนั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.