ตัวกรองผลการค้นหา
สมณ,สมณ-,สมณะ
หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
อาตุระ
หมายถึงว. อาดุระ, อาดูร. (ป., ส. อาตุร).
อากัปกิริยา
หมายถึง[อากับ-] น. กิริยาท่าทาง. (ป.).
อาศิร,อาศิร-,อาศิร-
หมายถึง[อาสิระ-] น. เขี้ยวงู. (ส. อาศี; ป. อาสี).
มรณ,มรณ-,มรณ์,มรณะ
หมายถึง[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
อาเกียรณ์
หมายถึง[-เกียน] ว. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด. (ส. อากีรฺณ; ป. อากิณฺณ).
อาศรม,อาศรมบท
หมายถึง[อาสม, อาสมบด] น. ที่อยู่ของนักพรต. (ส.; ป. อสฺสม, อสฺสมปท).
อาคันตุก,อาคันตุก-,อาคันตุกะ
หมายถึง[อาคันตุกะ-] น. แขกผู้มาหา. (ป., ส.).
อาณัติ
หมายถึง[อานัด] น. ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแลปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
อาชีพ,อาชีว,อาชีว-,อาชีวะ
หมายถึงน. การเลี้ยงชีวิต, การทำมาหากิน; งานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).
เบาราณ
หมายถึง(แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).