ค้นเจอ 60 รายการ

ช่องตีนกา

หมายถึงน. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาทใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.

ตีน

หมายถึงน. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สำหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง; ชาย, เชิง, เช่น ตีนท่า ตีนเลน.

ตีน

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้ากร่อยในวงศ์ Periophthalmidae ที่ใช้ครีบอกต่างตีน ตาโปนมองเห็นเหนือนํ้าได้ดี เช่น ชนิด Periophthalmus barbarus, Boleophthalmus boddarti.(ดู จุมพรวด).

ตีนคู้

หมายถึงน. ชื่อเรียกสระอู.

ตีนจก

หมายถึงน. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอจกลายโดยใช้ขนเม่นควักและใช้ด้ายหรือไหมสอดลาย แล้วนำมาเย็บติดกับซิ่น, เรียกผ้าที่มีเชิงเช่นนั้นว่า ผ้าตีนจก.

ตีนเท่าฝาหอย

หมายถึง(สำ) น. เด็กทารก.

ตีนแรด

หมายถึงน. (๑) เห็ดตีนแรด. [ดู จั่น ๕ (๒)]. (๒) ชื่อต้นไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).

มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ช่วยทำแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น.

มือห่างตีนห่าง

หมายถึง(สำ) ว. สุรุ่ยสุร่าย; เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง.

สะเก็ดตีนเมรุ

หมายถึง(ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี.

หัวแม่ตีน,หัวแม่เท้า

หมายถึงน. นิ้วต้นของเท้า.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ