ตัวกรองผลการค้นหา
กรณีย์
หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
กรณียะ
การัณย์
หมายถึง[การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
อุปัชฌายวัตร
หมายถึง[อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริกจะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
กฤษฎา
หมายถึง[กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทำแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทำมาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
ชว,ชว-
หมายถึง[ชะวะ-] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
ปัพพาชนียกรรม
หมายถึง[-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออกจากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
ทำวัตร
หมายถึงก. กระทำกิจที่พึงกระทำตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่นไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทำวัตรพระ ก็ว่า; ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
สังฆกรรม
หมายถึง[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).
กลา
หมายถึง[กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคำนับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
จ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ.
เรือนยอด
หมายถึงน. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบมณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอดเจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).