ตัวกรองผลการค้นหา
เปลื้อง
หมายถึง[เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทำให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.
ร่างแห
หมายถึงน. สิ่งที่ถักด้วยด้ายเป็นต้น เป็นตาข่ายสำหรับจับปลา, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร่างแหคลุมผม กระเป๋าร่างแห.
ห่ม
หมายถึงก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
ระเบียง
หมายถึงน. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบอุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
สังฆาฏิ
หมายถึงน. ผ้าคลุมกันหนาวที่ภิกษุใช้ทาบบนจีวร ตามปรกติใช้พับพาดบ่าซ้ายในพิธีสงฆ์. (ป.; ส. สํฆาฏิ).
ขึงอูด
หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
จรรมขัณฑ์
หมายถึงน. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็นเครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
หนังสด
หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.
ขี้ครอก
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Urena lobata L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. (๒) ดู กระชับ ๑.
ผ้าไตร
หมายถึงน. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.
เบิก
หมายถึงก. เปิด ใช้ในลักษณะอย่างเปิดผ้าคลุมบายศรีออก เรียกว่า เบิกบายศรี, ทำให้กว้าง เช่น เบิกถนนออกไป เบิกท้องร่อง; ขอให้จ่าย เช่น เบิกเงิน เบิกของ; นำเข้าเฝ้า เช่น เบิกตัว.
ครุย
หมายถึง[คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทำเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.