ค้นเจอ 54 รายการ

ทวิตียะ,ทวิตียา

หมายถึง[ทะวิ-] (แบบ) ว. ที่ ๒. (ส.).

ปลาก

หมายถึง[ปฺลาก] (โบ) น. ที่, ฝ่าย, ข้าง.

ร่ายสุภาพ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

แห่ง

หมายถึงน. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.

เกงเขง,เกงเคง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเจี๊ยบเปรี้ยว. (ดู กระเจี๊ยบเปรี้ยว ที่ กระเจี๊ยบ).

จุด

หมายถึงน. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. ก. ทำเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทำให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.

หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

ทั้งที่,ทั้ง ๆ ที่

หมายถึงว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกำลังเจริญก้าวหน้า.

นวมี

หมายถึง[นะวะมี] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมีดิถี = วัน ๙ คํ่า. (ป.).

เบญจม,เบญจม-

หมายถึง[เบนจะมะ-] ว. ครบ ๕, ที่ ๕. (ป. ปญฺจม).

ปัณรสี

หมายถึง[ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ