ตัวกรองผลการค้นหา
อานก,อานิก
หมายถึง[-นก, -นิก] ก. เอ็นดู, รักใคร่. (ข. อาณิต).
ช
หมายถึงในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.
ทวิชชาติ
หมายถึงน. ผู้เกิด ๒ ครั้ง, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป., ส.).
ทวิชาติ
หมายถึงน. นก; พราหมณ์. (ส. ทฺวิชาติ ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
ทิชากร
หมายถึงน. “ผู้เกิด ๒ ครั้ง”, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
เศียร
หมายถึง[เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
สกุณ
หมายถึงน. นก. (ป.; ส. ศกุน).
สรุโนก
หมายถึง[สฺรุ-] น. นก. (แผลงมาจาก สุโนก).
หน่วยคำ
หมายถึงน. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
สกุณี
หมายถึง(กลอน) น. นก.
ทิชาชาติ
ปักษคม
หมายถึง[ปักสะคม] น. นก.