ตัวกรองผลการค้นหา
เถ้าแก่
หมายถึงน. ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).
การก
หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).
สะเออะ
หมายถึงก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูดเป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
สุนทรพจน์
หมายถึง[สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.
กรรมการก
หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.
อุปัชฌาย,อุปัชฌาย-,อุปัชฌาย์,อุปัชฌายะ
หมายถึง[อุปัดชายะ-, อุบปัดชายะ-, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).
พระอันดับ
หมายถึงน. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธานหรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวชนาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึงผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสำคัญอะไร.
บริวาร
หมายถึง[บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็นประธาน เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).
วาจก
หมายถึงน. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).
กลาโหม
หมายถึง[กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
สวนสนาม
หมายถึงน. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่าผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
เจว็ด
หมายถึง[จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.