ตัวกรองผลการค้นหา
กะดวน
หมายถึงก. ตอกลิ่มเข้าไปในไม้. (ปาเลกัว).
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
สรณ,สรณ-,สรณะ
หมายถึง[สะระนะ-] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
วณบัตร,วณพันธน์
หมายถึงน. ผ้าพันแผล. (ป. วณปฏฺฏก, วณพนฺธน; ส. วฺรณปฏฺฏก).
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
หมายถึง(สำ) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
วณ,วณ-,วณะ
หมายถึง[วะนะ-] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์
หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).
สมณ,สมณ-,สมณะ
หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
มรณันติก,มรณันติก-
หมายถึง[มะระนันติกะ-] ว. มีความตายเป็นที่สุด. (ป. มรณ + อนฺติก).
วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์
หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
คณนะ,คณนา
หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
ดอย
หมายถึงก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.