ตัวกรองผลการค้นหา
จาน
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).
โสวรรณ
หมายถึง[-วัน] ว. เป็นทอง, ทำด้วยทอง. (ป. โสวณฺณ; ส. เสาวรฺณ).
ทองเนื้อเก้า
หมายถึงน. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
ทองไม่รู้ร้อน
หมายถึง(สำ) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.
เลื่อยทำทอง
หมายถึงน. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวดแบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็กแข็งกว่า.
พระยาโต๊ะทอง
หมายถึงน. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง.
ตะ
หมายถึงก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
ตัวเงินตัวทอง
หมายถึง(ปาก) น. เหี้ย.
ปิดทองหลังพระ
หมายถึง(สำ) ก. ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า.
ลงนะหน้าทอง
หมายถึงก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
ทองกวาว
หมายถึง[-กฺวาว] (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).
ทองธรรมชาติ
หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.