ตัวกรองผลการค้นหา
เสียงสะท้อน
หมายถึงน. เสียงที่ย้อนกลับมามีลักษณะคล้ายเสียงเดิม เนื่องจากคลื่นเสียงไปกระทบสิ่งขวางกั้นแล้วย้อนกลับ อย่างเสียงในถ้ำในหุบเขาเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงความคิดเห็นของกลุ่มชนที่มีปฏิกิริยาต่อการกระทำบางอย่างของอีกฝ่ายหนึ่ง.
ด้นถอยหลัง
หมายถึงก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
ตีกลับ
หมายถึงก. ย้อนกลับคืนผู้ส่ง (ใช้แก่หนังสือหรือจดหมาย) เช่น หนังสือถูกตีกลับ จดหมายถูกตีกลับเพราะหาผู้รับไม่ได้.
อนุโยค
หมายถึงก. ซักถาม, ซักไซ้. ว. เรียกคำที่ผู้ถูกถามย้อนถามผู้ถามว่า คำอนุโยค. (ป., ส.).
ศอกกลับ
หมายถึงก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
เข้าตัว
หมายถึงก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
สะท้อน
หมายถึงก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยายหมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
ไล่เบี้ย
หมายถึงก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชำระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลำดับ, โดยปริยายหมายถึงการกระทำในลักษณะเช่นนั้น.
อนุโลม
หมายถึงก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลำดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ. (ป., ส.).
ยอกย้อน
หมายถึงก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
รูปเงา
หมายถึง(ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูปที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
หงิก
หมายถึงว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.