ตัวกรองผลการค้นหา
ศาลรัฐธรรมนูญ
หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป.
เทวาคาร
หมายถึงน. ศาลพระภูมิ, ศาลเจ้า. (ส.).
บูรณ,บูรณ-,บูรณ์
หมายถึง[บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
สรณ,สรณ-,สรณะ
หมายถึง[สะระนะ-] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
ราชบาตร
หมายถึงน. คำสั่งหลวง.
ปาณ,ปาณ-,ปาณะ
หมายถึง[-นะ] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณ).
วณ,วณ-,วณะ
หมายถึง[วะนะ-] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์
หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).
อิณะ
หมายถึงน. หนี้ เช่น ราชิณ (ราช + อิณ) ว่า หนี้หลวง. (ป.; ส. ฤณ).
สมณ,สมณ-,สมณะ
หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
ปาณก,ปาณก-
หมายถึง[-นะกะ-] น. หนอน, สัตว์มีชีวิต. (ป.).