ค้นเจอ 128 รายการ

อภิธาน

หมายถึงน. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).

คดีอาญา

หมายถึง(กฎ) น. คดีที่เกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา.

กำหนด

หมายถึง[-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.

วังหลวง

หมายถึงน. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.

ทุ

หมายถึง(แบบ) ว. สอง, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).

พินทุกัป,พินทุกัปปะ

หมายถึงน. การทำพินทุ คือ เขียนรูปวงที่มุมจีวรตามวินัยบัญญัติ. (ป. พินฺทุกปฺป).

ฐายี

หมายถึง(แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).

วิ

หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).

บทเฉพาะกาล

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งหรือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับกฎหมายนั้น.

เทว,เทว-

หมายถึง[ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว).

รัฐสภา

หมายถึง[รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.

เกรียง

หมายถึง[เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สำเนียงเกรียงระงม. (ม. คำหลวง กุมาร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ