ตัวกรองผลการค้นหา
อนุศาสก
หมายถึงน. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
อนุวัต
หมายถึงก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
กริยาวิเศษณานุประโยค
หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.
เศวตร
หมายถึง[สะเหฺวด] (โบ) น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).
กาลานุกาล
หมายถึง(โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใดกาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).
จำหาย
หมายถึงก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
วิกัติการก
หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
วาตารางเหลี่ยม
หมายถึง(เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
สติวินัย
หมายถึงน. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
ตระหง่อง,ตระหน่อง
หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
นุ
หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
โตรด
หมายถึง[โตฺรด] (โบ) ว. โดดเดี่ยว เช่น เยียยลสุดาเดียวตรอมโตรด. (ทวาทศมาส); เปลี่ยว, คะนอง เช่น ส่วนสัตว์โตรดดุดัน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), โกรด ก็ใช้.