ค้นเจอ 56 รายการ

ประทุน

หมายถึงน. หลังคาเรือ รถ หรือเกวียนที่มีรูปโค้งคุ่มตามรูปเรือ รถ หรือเกวียน, เรียกมุ้งครอบที่หุบและกางได้คล้ายร่มว่า มุ้งประทุน.

กระทงเพชร

หมายถึงน. ไม้ติดขวางรองแคร่เกวียนเพื่อยึดไม่ให้แคร่แยกออกไป.

กระพอง

หมายถึงน. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กำพอง ก็เรียก.

กำพอง

หมายถึงน. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กระพอง ก็เรียก.

ชำรุด

หมายถึงก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป เช่น หนังสือชำรุด เกวียนชำรุด.

ภาษิต

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ เช่น กงเกวียนกำเกวียน. (ส.).

ทัพสัมภาระ

หมายถึง[ทับพะ-] น. สิ่งหรือเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น. (ป.).

เข็น

หมายถึงก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้นบรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น.

กระชุก

หมายถึงน. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก.

แบรก

หมายถึง[บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่งสำหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.

กเรณุ

หมายถึง[กะเรนุ] (แบบ) น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี- พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์). (ป.).

สามชุก

หมายถึงน. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, กระชุก ก็เรียก. (ดู กระชุก ๒).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ