ตัวกรองผลการค้นหา
เบิกไม้
หมายถึงน. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.
กองข้าว
หมายถึงน. พิธีอย่างหนึ่งที่ชาวชนบทห่อข้าวพร้อมด้วยของหวานพากันไปเซ่นผีตามป่าในหน้าแล้ง.
เมธ
หมายถึง[เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
โสม
หมายถึงน. นํ้าคั้นจากต้นของไม้เถาชนิดหนึ่ง กรองแล้วนำมาผสมกับเนยใส เพื่อใช้เซ่นสรวงพระอินทร์และเทพอื่น ๆ. (ส.).
ข้าวผอกกระบอกน้ำ
หมายถึงน. ของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีกระบอกนํ้าเล็ก ๆ กรอกนํ้าแขวนกิ่งไม้ผูกไว้กับบันไดเรือน ใช้เซ่นผีในเทศกาลตรุษ.
ทางสามแพร่ง
หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
สามแพร่ง
หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง เรียกว่า ทางสามแพร่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
ชิงเปรต
หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทำบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
เสียกบาล
หมายถึงน. กรรมวิธีเซ่นผีโดยเอาเครื่องเซ่นพร้อมตุ๊กตาดินปั้นเป็นต้นใส่กระบะกาบกล้วยไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือลอยน้ำ เพื่อมิให้ผีร้ายมานำตัวเด็กที่เจ็บป่วยไป, เรียกตุ๊กตาที่ใช้ในการนี้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาล.
กบาล
หมายถึง[กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).