ตัวกรองผลการค้นหา
เหมวดี
หมายถึง[เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทำยาไทย.
กระบัด
หมายถึง(กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
ตระบอง
หมายถึง[ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
ภูโช
หมายถึงน. งวงช้าง เช่น ภูโชพรายแพร่งเหลื้อม โสภา เพรอศแฮ. (ยวนพ่าย). (ป., ส. ภุช).
ไกร
หมายถึง[ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
ส่ายศึก,ส่ายเศิก
หมายถึงก. กวาดล้างให้หมดสิ้นข้าศึกศัตรู เช่น ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน. (นิ. นรินทร์).
จระคล้าย
หมายถึง[จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
เหี้ยม
หมายถึงว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
บังเหตุ
หมายถึง(โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทำให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).
ชอง
หมายถึงน. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.
หยับ,หยับ ๆ
หมายถึงว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
อย่าหาทำ
หมายถึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ, อย่าทำ