ค้นเจอ 39 รายการ

เวไนย

หมายถึงน. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).

สารนิเทศ

หมายถึง[สาระนิเทด] น. การชี้แจงแนะนำเกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + นิรฺเทศ; ป. สาร + นิทฺเทส).

นามบัตร

หมายถึง[นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทำงานไว้เพื่อแนะนำตัวเป็นต้น.

มนตรี

หมายถึงน. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).

สามัญสำนึก

หมายถึงน. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่น ทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร.

เนติ

หมายถึง[เน-ติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

จาว

หมายถึงว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อยตามคำแนะนำ).

นิติ

หมายถึง[นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

โภชนากร

หมายถึง[โพชะนา-, โพดชะนา-] น. ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการแล้วสามารถให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องอาหารแก่บุคคลอื่นต่อไปได้.

สังฆาณัติ

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคำแนะนำของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช. (ป.).

ชี้

หมายถึงน. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้. ก. เหยียดนิ้วชี้เป็นต้นตรงไปที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องการ, เหยียดตรง เช่น หางชี้; แนะนำ, บอกให้, เช่น ชี้ทาง.

แมวมอง

หมายถึงน. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดูว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ