ตัวกรองผลการค้นหา
เวณะ
หมายถึงน. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).
สวนะ
หมายถึงน. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรวณ).
ปัจเวกขณ์
หมายถึง[ปัดจะเวก] (แบบ) น. การเห็นลงจำเพาะ, การพิจารณา. (ป. ปจฺจเวกฺขณ).
สมีระ
หมายถึง[สะมี-] น. ลม. (ป., ส. สมีรณ).
อานาปาน,อานาปาน-,อานาปานะ
หมายถึง[-นะ-] น. ลมหายใจเข้าออก ในคำว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์
หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).
อาศิร-,อาศิร- ,อาศิร-,อาเศียร,อาเศียร-
หมายถึง[อาสิระ-, -เสียนระ-] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คำนี้เมื่อนำหน้าอักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
คณนะ,คณนา
หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
อาดุระ,อาดูร
หมายถึง[-ดูน] ว. เดือดร้อน, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ, ในบทกลอนตัดใช้ว่า ดุร ก็มี. (ป., ส. อาตุร).
ทิพยจักษุญาณ
หมายถึงน. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).
ฤกษณะ
หมายถึง[รึกสะนะ] น. การดู, การเห็น. (ส. อีกฺษณ; ป. อิกฺขณ).
อุปาณ,อุปาณ-
หมายถึง[อุปานะ-] ว. เปรียบเทียบ เช่น อุปาณวาจา ว่า การกล่าวเปรียบเทียบ. (ปาเลกัว).