ตัวกรองผลการค้นหา
อภินิหาร
หมายถึงน. อำนาจแห่งบารมี, อำนาจบุญที่สร้างสมไว้, อำนาจเหนือปรกติธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).
อวหาร
หมายถึงน. การลัก, การขโมย. (ป., ส.).
อุปมาโวหาร
หมายถึงน. สำนวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
กตาภินิหาร
หมายถึง[กะตาพินิหาน] (แบบ) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอภินิหารที่ทำไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อภินิหาร).
กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาภินิหาร
หมายถึง[กฺริดสะ-] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
กัปปิยโวหาร
หมายถึงน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
ตัวหารร่วมมาก
หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
ถนอมอาหาร
หมายถึงก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
ทหารกองประจำการ
หมายถึง(กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
ทหารเกณฑ์
หมายถึง(ปาก) น. ทหารกองประจำการ.
ทหารผ่านศึก
หมายถึง(กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการทหาร หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด.
นหารุ
หมายถึง[นะหารุ] (แบบ) น. เส้น, เอ็น. (ป.; ส. สฺนายุ).