ตัวกรองผลการค้นหา
กระแบกงา
หมายถึงก. แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย. (ตำราช้างคำโคลง).
ปัดเกล้า
หมายถึงน. ท่ารำชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
ชรอัด
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช).
สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ
หมายถึง(สำ) ก. หมดอำนาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, หมดเขี้ยวหมดงา หรือ หมดเขี้ยวหมดเล็บ ก็ว่า.
จูงนางลีลา
หมายถึงน. ชื่อท่ารำชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
ช้าง
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมีความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
นรการ
หมายถึง[นอระกาน, นะระกาน] น. ช้างสีดอ, ช้างตัวผู้ มีงาสั้น.
เกก
หมายถึงว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
เติ่ง
หมายถึงน. ที่สำหรับเทสกา รูปกระปุก ทำด้วยงาหรือไม้แข็ง มีรูข้าง ๆ สำหรับลูกออก.
อปรัณณชาติ
หมายถึง[อะปะรันนะชาด] น. “อาหารอื่น” คือ ถั่ว งา และผักต่าง ๆ (นอกจากข้าว). (ป. อปรณฺณ).
ประสานงา
หมายถึงก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
กระยาสารท
หมายถึง[-สาด] น. ขนมทำด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทำเฉพาะในเทศกาลสารท.