ค้นเจอ 59 รายการ

ชร,ชร-,ชร-

หมายถึง[ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.

ชรแรง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. แรง ๆ, ขลัง, เช่น เยียชรแรง. (แช่งนํ้า).

ชรออบ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบชีนอน. (ม. คำหลวง กุมาร).

ชรอัด

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช).

ชระงำ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ.

ชระมุ่น

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. มุ่น, นุ่ม, เช่น ลานโลมวิไลแถงชระมุ่น อกเอย. (นิ. นรินทร์).

ชระลัด

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) น. ทางลัดไปได้.

ชระลุ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ปรุ, สลัก, ฉลุ.

ชรา

หมายถึง[ชะ-] ว. แก่ด้วยอายุ, ชำรุดทรุดโทรม. (ป., ส.).

ชราภาพ

หมายถึงน. ความแก่ด้วยอายุ, ความชำรุดทรุดโทรม, เช่น อันทุพพลชรา ภาพแล้ว. (โลกนิติ).

ชรอ่ำ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).

ชรอื้อ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ