ค้นเจอ 62 รายการ

หนุน

หมายถึงก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน; ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.

เขน

หมายถึงน. เรียกตัวแสดงโขนพวกหนึ่งซึ่งเป็นพลรบ มีหน้าที่ออกเต้นในเวลายกทัพ ว่า พลเขน, เรียกอาการเต้นของพลเขนว่า เต้นเขน.

ราวี

หมายถึงก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กำลังรังแกเป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.

สิบแปดมงกุฎ

หมายถึงน. เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.

ยกเมฆ

หมายถึงก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.

แทรก

หมายถึง[แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือสอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดำ แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปในระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.

แซง

หมายถึงน. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือกองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.

ยอ

หมายถึงก. กล่าวคำเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.

ยั้ง

หมายถึงก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.

กราว

หมายถึง[กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทำบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทำเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สำหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์มหาราช ในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรำเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรงก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทำในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทำนองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.

แต่ง

หมายถึงก. จัดให้งาม เช่น แต่งร้าน แต่งบ้าน, ทำให้ดี เช่น แต่งต้นไม้ แต่งผม; จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต; จัดแจง เช่น แต่งเครื่องราชบรรณาการ แต่งทัพ; เรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เช่น แต่งหนังสือ แต่งโคลงกลอน, คิดทำขึ้นเอง เช่น แต่งเรื่อง; ครอง เช่น แต่งเมือง ว่า ครองเมือง.

ยก

หมายถึงก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคำสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ