ค้นเจอ 141 รายการ

สัดส่วน

หมายถึงน. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กำหนด เช่น ในการผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท. (อ. proportion).

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

ทองพิศ

หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.

ปา

หมายถึงก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คำใช้แทนกิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำประกอบที่ทำให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

สิ้น

หมายถึงก. หมด, จบ, เช่น กินอาหารมื้อนี้สิ้นเงินไป ๕๐๐ บาท สิ้นปีนี้เขาจะย้ายไปอยู่เชียงใหม่; ตาย เช่น พ่อแม่เขาสิ้นไปหมดแล้ว.

ร้อยชั่ง

หมายถึงน. จำนวนเงิน ๘,๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากในสมัยหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงลูกสาวที่พ่อแม่สงวนอย่างมีค่าเท่ากับเงิน ๑๐๐ ชั่ง.

ลหุโทษ

หมายถึงน. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

อั้น

หมายถึงก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กำหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กำหนดจำนวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้นทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.

มาสก

หมายถึง[มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).

ขา

หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ