ค้นเจอ 75 รายการ

ไอราวัณ

หมายถึงน. เอราวัณ, ช้าง ๓๓ เศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์. (ส. ไอราวณ; ป. เอราวณ).

เรือพระที่นั่งรอง

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.

ผู้ขับขี่

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ.

ขับขี่

หมายถึงว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้.

ล้อเลื่อน

หมายถึงน. คำรวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกำลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.

โดยสาร

หมายถึงก. อาศัยไปด้วย เช่น โดยสารเรือ, เดินทางไปโดยยานพาหนะโดยเสียค่าโดยสาร, เรียกคนที่ใช้รถหรือเรือรับจ้างว่า คนโดยสาร. (ข.).

อีโหลกโขลกเขลก

หมายถึง[-โหฺลกโขฺลกเขฺลก] ว. อาการที่ยานพาหนะเป็นต้นเคลื่อนที่ไปอย่างทุลักทุเล เช่น นั่งรถอีโหลกโขลกเขลกมาทั้งวัน, ไม่เป็นโล้เป็นพาย, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, เช่น ใช้ชีวิตอีโหลกโขลกเขลกไปวันหนึ่ง ๆ.

กระตัก

หมายถึง(โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).

รถสามล้อ

หมายถึงน. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มี ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยานสามล้อเครื่อง.

สามล้อ

หมายถึงน. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีล้อ ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยานสามล้อเครื่อง.

ท่า

หมายถึงน. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.

มยุรอาสน์

หมายถึงน. “พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ” หมายถึง พระขันทกุมารหรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ