ตัวกรองผลการค้นหา
ลงศอก
หมายถึงก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอกยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
อก
หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียกเลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
ยัญ,ยัญ-,ยัญญะ
หมายถึง[ยันยะ-] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. (ป. ยญฺ; ส. ยชฺ).
ขา
หมายถึงน. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สำหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะคล้ายขาสำหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
สาลี่
หมายถึงน. คันเหล็กติดอยู่บนหลังคารถราง ปลายมีลูกรอกยันอยู่กับสายไฟฟ้า เพื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องรถ. (อ. trolley).
กราน
หมายถึง[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
เพศยันดร
หมายถึง[เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
ขึงอูด
หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
รุ่ง
หมายถึงน. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.
ละเลง
หมายถึงก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
แวบวับ
หมายถึงว. อาการที่แสงสว่างปรากฏอยู่ชั่วแว็บเดียวแล้วก็หายไปและปรากฏขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องกัน เช่น ไฟจากป้ายโฆษณามีแสงแวบวับ แสงดาวแวบวับอยู่บนท้องฟ้า.
ทา
หมายถึงก. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมา ก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.