ตัวกรองผลการค้นหา
อัญประกาศ
หมายถึง[อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
ประสบการณ์นิยม
หมายถึง[ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
ภูมิศาสตร์ประชากร
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
สัญประกาศ
หมายถึง[สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
ไป
หมายถึงก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบท้ายกริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไป กินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
เค้น
หมายถึงก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
ย้ำ,ย้ำ ๆ
หมายถึงก. พูดหรือทำซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
ขบ
หมายถึงก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบ บาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่งที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
จะ
หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.
พีชคณิต
หมายถึง[พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
สบถ
หมายถึง[สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
ฉะ
หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.