ตัวกรองผลการค้นหา
อิษฏ์
หมายถึงน. การบูชา, เครื่องสักการบูชา. (ส.).
กฏุก-
หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
กุฏฐัง
หมายถึงน. โรคเรื้อนซึ่งทำให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป. (ป.).
กูฏ,กูฏา
หมายถึง[กูด, กูตา] (แบบ) น. ยอด. (ป., ส.).
จุมพฏ
หมายถึง[-พด] น. เสวียน; รัดเกล้า, เทริด; ของที่เป็นวง. (ป.).
ฏ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๕ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรากฏ มกุฏกษัตริยาราม.
ทุกฏ
หมายถึง[ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
นัฏ,นัฏกะ
หมายถึง[นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
นาฏศิลป์
หมายถึง[นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ. (ส.).
ปฏิ,ปฏิ-
หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
ปฏิกรณ์
หมายถึง(ฟิสิกส์) น. เครื่องที่ใช้สำหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทางนิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สารกัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู. (อ. reactor).
ปฏิกรรมสงคราม
หมายถึงน. การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่ายพ่ายแพ้. (อ. reparation).