ตัวกรองผลการค้นหา
อักเษาหิณี
หมายถึงน. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี ก็ว่า. (ส.; ป. อกฺโขภิณี).
อักโขภิณี,อักโขเภณี
หมายถึงน. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; ใช้ว่า อักเษาหิณี ก็มี. (ป.; ส. อกฺเษาหิณี).
กรรแซง
หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).
กรรแทรก
หมายถึง[กันแซก] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก).
กรรมวิธี
หมายถึง[กำมะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม.
กระชิง
หมายถึงน. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิงหุ้มผ้าแดงได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิงหุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). (ดู กรรชิง).
เสนากุฎ
หมายถึง[เส-นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.
กิ่ง
หมายถึงน. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยกออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอำเภอ กิ่งสถานีตำรวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่งในกระบวนพยุหยาตรา.
เรือดั้ง
หมายถึงน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
ละครชาตรี
หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
เรือกลอง
หมายถึงน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
ละครใน
หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.