ค้นเจอ 61 รายการ

ถึง

หมายถึงก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยายหมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น ไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี.

ทางสายกลาง

หมายถึงน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.

มาฆบูชา

หมายถึงน. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. (ป. มาฆปูชา).

อัษฎางคิกมรรค

หมายถึง[อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หมายถึงน. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

วันมาฆบูชา

หมายถึงน. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค

หมายถึง[มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ