ตัวกรองผลการค้นหา
นิติกรรมอำพราง
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.
นิติบัญญัติ
หมายถึง(กฎ) น. การบัญญัติกฎหมาย.
นิติเวชศาสตร์
หมายถึงน. วิชาที่ว่าด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic medicine).
นิติสัมพันธ์
หมายถึง(กฎ) น. ความเกี่ยวพันตามกฎหมาย.
เนติ
หมายถึง[เน-ติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
บัญญัติ
หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).
บัญญัติไตรยางศ์
หมายถึงน. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
บัวสายติ่ง
หมายถึงดู สายติ่ง.
บุคคลนิติสมมติ
หมายถึง[บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
ปรกติ
หมายถึง[ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
ประติ,ประติ-
หมายถึงเป็นคำสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).
ประติญาณ
หมายถึงน. ปฏิญาณ. (ส. ปฺรติชฺาน).