ตัวกรองผลการค้นหา
วจีสุจริต
หมายถึง[วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
ศาลชั้นต้น
หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
เศรษฐศาสตร์
หมายถึง[เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
สมาบัติ
หมายถึง[สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
สายยงยศ
หมายถึงน. สายที่ข้าราชการทหารหรือตำรวจใช้เพื่อแสดงสถานะ มี ๓ ชนิด ได้แก่ สายยงยศราชองครักษ์ สายยงยศเสนาธิการ และสายยงยศนายทหารคนสนิท.
สายยู
หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดในวงศ์ Schilbeidae ตัวเรียวยาว มีหนวดยาว ๔ คู่ และมีครีบหลัง ๒ ตอน เฉพาะตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กมาก ได้แก่ ชนิด Platytropius siamensis, เกด ก็เรียก.
หนังสือราชการ
หมายถึงน. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
อนุสัย
หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
อาเทสนาปาฏิหาริย์
หมายถึงน. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
อาบัติ
หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
อิฏฐารมณ์
หมายถึงน. อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข, ตรงข้ามกับ อนิฏฐารมณ์. (ป. อิฏฺารมฺมณ).
อิทธิปาฏิหาริย์
หมายถึงน. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).