ตัวกรองผลการค้นหา
ล้าน
หมายถึงว. ลักษณะของหัวที่ไม่มีผมมาแต่กำเนิดหรือผมร่วงแล้วไม่ขึ้นอีก, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ภูเขาหัวล้าน.
ประดาษ
หมายถึงว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษวาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
สัตบริภัณฑ์,สัตภัณฑ์,สัตภัณฑ์
หมายถึง[สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).
สาชล
หมายถึง(กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวังสวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
เนมินธร
หมายถึง[-มินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๕ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
พิทยาธร
หมายถึงน. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
เมรุ,เมรุ-
หมายถึง[เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
ไกรลาส,ไกลาส
หมายถึง[ไกฺรลาด, ไกลาด] น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. ว. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ส. ไกลาส).
เย็นเยือก
หมายถึงว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอยน้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
ยุคนธร
หมายถึง[-คนทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นชั้นในที่สุดในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ, ใช้ ยุคันธร หรือ ยุคุนธร ก็มี. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
กรวิก
หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
อัสกัณ
หมายถึง[อัดสะกัน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๗ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อสฺสกณฺณ; ส. อศฺวกรฺณ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).