ตัวกรองผลการค้นหา
ด่าง
หมายถึงน. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สำหรับทำยาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลายนํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
ไดแซ็กคาไรด์
หมายถึง(วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจำพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
ธาตุ
หมายถึง[ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส.
พิทย,พิทย-,พิทย์,พิทยา
หมายถึง[พิดทะยะ-, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
แรง
หมายถึง(วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.
โลห,โลห-,โลหะ
หมายถึง[โลหะ-] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคำ; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสำคัญ คือ เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นลวดได้ เมื่อนำมาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนบวก.
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
สนามไฟฟ้า
หมายถึง(วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่าน.
หลอมละลาย,หลอมเหลว
หมายถึง(วิทยา) ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว. น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวว่า จุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว.
วิทยาการ
หมายถึงน. ความรู้แขนงต่าง ๆ เช่น ปัจจุบันวิทยาการต่าง ๆ ก้าวหน้าไปมาก, บางทีใช้ว่า ศิลปวิทยาการ.
ตรรกวิทยา
หมายถึงน. ตรรกศาสตร์.
นฤตยศาสตร์
หมายถึงน. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบำ. (ส.).