ตัวกรองผลการค้นหา
สายชู
หมายถึงน. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร เรียกว่า นํ้าส้มสายชู, นํ้าส้ม ก็เรียก.
นิโคติน
หมายถึงน. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗ °ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
บิวเรตต์
หมายถึงน. หลอดแก้วยาว ปลายล่างมีลูกบิดให้ปิดเปิดได้ ข้างหลอดมีขีดบอกปริมาตรสำหรับวัดของเหลวที่ไขออก ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางเคมี. (อ. burette).
ยาวยืด
หมายถึงว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืดเล่าไม่รู้จักจบ.
สูบ
หมายถึงน. เครื่องสำหรับดูดของเหลวเช่นนํ้าให้เคลื่อนจากระดับเดิมไปสู่ระดับใหม่, เครื่องสำหรับดูดหรืออัดลม. ก. ดูดเข้าไป เช่น สูบบุหรี่ สูบกัญชา, ดูดออกมา เช่น สูบส้วม สูบน้ำออกจากนา.
กลั่น
หมายถึง[กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
บาร์เรล
หมายถึงน. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตรนํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน. (อ. barrel).
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
หมายถึง[-โดฺร-] น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร H2O2 ลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ใช้ประโยชน์เป็นยาล้างเชื้อโรค และตัวฟอกจาง. (อ. hydrogen peroxide).
เซรุ่ม
หมายถึงน. ของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือดสัตว์ เช่น ม้า กระต่าย ซึ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรค แล้วนำมาฉีดในคนเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรคนั้น. (อ. serum).
กระฉูด
หมายถึงก. พุ่งออกโดยแรง (ใช้แก่ของเหลว) เช่น น้ำกระฉูด; ไสไปโดยแรง เช่น ช้างกระฉูดเท้า. (เทียบ ข. กญฺฌูส ว่า เตะดิน, ตะกุยดิน, เตะไสดินให้ฝุ่นฟุ้ง).
น้ำมัน
หมายถึงน. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
ลักษณ,ลักษณ-,ลักษณะ
หมายถึง[-สะหฺนะ] น. สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).