ตัวกรองผลการค้นหา
กินทาง
หมายถึงว. ลํ้าทาง (ใช้แก่ยวดยาน) เช่น ขับรถกินทาง.
ขี้กระทาเกลือ,ขี้ทา
หมายถึงน. ขี้เกลืออันตกกระฉาบทาไปตามพื้นดิน หรือพื้นที่มีเกลือแห้งเกรอะอยู่เป็นกระ.
เข้าที่เข้าทาง
หมายถึงก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของให้เข้าที่เข้าทาง.
จิตรปทา
หมายถึงน. ชื่อฉันท์ในวรรณพฤติ. (ป., ส.).
ต้านทาน
หมายถึงก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้.
ทา
หมายถึงก. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมา ก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
ทางโท
หมายถึงน. ทางที่รถต้องยอมให้รถทางเอกผ่านไปได้ก่อน.
ทางม้าลาย
หมายถึงน. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทาสีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.
ทางสาธารณะ
หมายถึง(กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วย.
ทางหลวง
หมายถึง(กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
ทางเอก
หมายถึงน. ทางที่รถแล่นผ่านไปได้ก่อนรถทางโท.
ทาน
หมายถึงก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.