ค้นเจอ 230 รายการ

กระทุ่ม

หมายถึงก. เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน) โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).

เข้าทุน

หมายถึงก. รวมทุนกันเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ควายทุย

หมายถึงน. ควายที่มีเขาสั้นหรือหงิก.

คำร้องทุกข์

หมายถึง(กฎ) น. คำกล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทำความผิด ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.

จระเข้ปากกระทุงเหว

หมายถึงดู ตะโขง.

เซลล์ทุติยภูมิ

หมายถึงน. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนำไปอัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทำให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนำเซลล์ไฟฟ้าไปอัดไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell).

ดันทุรัง

หมายถึงว. ดื้อดึงไม่ยอมแพ้, ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง, ดัน ก็ว่า.

เตาทุเรียง

หมายถึงน. ชื่อเตาชนิดหนึ่ง สำหรับเผาเครื่องถ้วยชามและเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยสมัยโบราณ.

ถอนทุน

หมายถึงก. ได้ทุนคืน, ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน.

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

ทุกขลาภ

หมายถึง[ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.

ทุกขสมุทัย

หมายถึง[ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ