ตัวกรองผลการค้นหา
หัวพัน
หมายถึงน. ตำแหน่งข้าราชการโบราณรองจากนายเวรลงมา, หัวหน้าควบคุมทหารจำนวนพันหนึ่ง; (โบ) นายทหารผู้ช่วยกองเสนาหลวงในสมัยโบราณ.
โยคะ
หมายถึงน. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดยการทำจิตให้เป็นสมาธิ.
อิเล็กทรอนิกส์
หมายถึง[-ทฺรอ-] น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้. (อ. electronics).
ทรานซิสเตอร์
หมายถึง[ทฺราน-] น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสารกึ่งตัวนำ มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสำหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอก ใช้สำหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยายซึ่งเคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มีขั้วหนึ่งเป็นขั้วร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. transistor).
ชีวเคมี
หมายถึงน. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. (อ. biochemistry).
บรรณาธิการ
หมายถึง[บันนาทิกาน] น. ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์; (กฎ) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.
วิสามัญฆาตกรรม
หมายถึง[วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.
เรือนจำ
หมายถึงน. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา; (กฎ) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และหมายความรวมตลอดถึงที่อื่นใดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน.
ศึกษาธิการ
หมายถึงน. เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมเกี่ยวกับการศึกษาระดับอำเภอ จังหวัด และเขตการศึกษา เรียกว่า ศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขต, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม.
การเมือง
หมายถึงน. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดำเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอำนวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตำแหน่งการเมือง ได้แก่ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่อำนวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงำ, มีการกระทำอันมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
ส่วนหน้า
หมายถึงน. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า.
กักกัน
หมายถึงก. กำหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.