ค้นเจอ 3,326 รายการ

สาบ

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงแกลบแต่ตัวโตกว่า ลำตัวยาวประมาณ ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่านี้ รูปร่างรูปไข่ค่อนข้างแบนราบ หัวซ่อนอยู่ใต้อก หนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก ที่พบบ่อยเป็นพวกอาศัยตามบ้านเรือน ได้แก่ ชนิด Periplaneta americana และชนิด Blatta orientalis ในวงศ์ Blattidae.

สาบแร้งสาบกา

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Compositae ใบมีขน กลิ่นฉุน คือ ชนิด Ageratum conyzoides L. ดอกสีฟ้าอ่อน และชนิด Blumea aurita (L.) DC. ดอกสีขาว ต้นสูงกว่าชนิดแรก.

สารภี

หมายถึง[สาระพี] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Mammea วงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ คือ ชนิด M. harmandii Kosterm. ดอกใหญ่ และชนิด M. siamensis (Miq.) T. Anderson ดอกเล็ก. (ป., ส. สุรภิ).

แสก

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Tytonidae ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ แสก (Tyto alba) พบอาศัยหลบพักตามต้นไม้หรือชายคา และ แสกแดง (Phodilus badius) ชนิดนี้ไม่พบอาศัยตามบ้านเรือน.

แส้ม้า

หมายถึงน. ชื่อพยาธิตัวกลมในวงศ์ Trichuridae ลักษณะคล้ายแส้ตีม้า ตัวสีขาว ยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร ส่วนหัวและลำตัวบางเรียวยาวคล้ายเส้นผม ส่วนท้ายหนา อาศัยดูดกินเลือดอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ เช่น ชนิด Trichuris trichiura.

แสลงใจ

หมายถึง[สะแหฺลง-] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Strychnos nux-vomica L. ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็นสารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ดแก่แห้งใช้ทำยาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง.

หก

หมายถึงน. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนาใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังในโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ (Psittinus cyanurus) หกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis) และหกเล็กปากดำ (L. galgulus).

หมา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris.

หมาป่า

หมายถึงน. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกำเนิดเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและเขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Canis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurus พบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus) และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.

หมาร่า

หมายถึงน. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทำรังขนาดกำปั้นหรือเล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือเหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.

หยี

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมีเมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดำ.

เหงือกปลาหมอ

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบเป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ