ตัวกรองผลการค้นหา
ตู้นิรภัย
หมายถึง[-นิระ-] น. ตู้ที่ทำขึ้นให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันทรัพย์สินภายในจากการโจรกรรมหรืออัคคีภัย.
เนื้อเต่ายำเต่า
หมายถึง(สำ) ก. นำเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
ขายเผื่อชอบ
หมายถึง(กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ.
ภาษีเงินได้
หมายถึงน. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน.
ศาสนสมบัติ
หมายถึงน. ทรัพย์สินของพระศาสนาทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มี ๒ อย่าง คือ ศาสนสมบัติกลาง และศาสนสมบัติของวัด.
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
ซื้อขาย
หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย.
สินเดิม
หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาโดยทางพินัยกรรม หรือมีผู้ยกให้โดยเสน่หาเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นแสดงไว้ว่าให้เป็นสินเดิม.
ฝากทรัพย์
หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.
ภาระจำยอม
หมายถึง(กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม.
ยึดทรัพย์
หมายถึง(กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครองของบุคคล เพราะเหตุที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี.