ค้นเจอ 68 รายการ

หิงสา

หมายถึงน. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

ปล่อยเสือเข้าป่า

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

ตีงูให้หลังหัก

หมายถึง(สำ) ก. กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).

ทำคุณ

หมายถึงก. ประกอบพิธีเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถาเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทำคุณทำไสย ก็ว่า.

คุณ

หมายถึงน. อาถรรพณ์ คือ พิธีทำร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัวหรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทำคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า.

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

อาวุธ

หมายถึง[-วุด] น. เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ. (ป. อาวุธ, อายุธ; ส. อายุธ).

ขวิด

หมายถึง[ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทำร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.

ประทุษร้าย

หมายถึง[ปฺระทุดสะ-] ก. ทำให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทำให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.

ล้อม

หมายถึงก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทำร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.

แว้ง

หมายถึงก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทำร้ายเป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิด จระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.

ทำขวัญ

หมายถึงก. ทำพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทำขวัญนาค ทำขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ