ตัวกรองผลการค้นหา
กริ้ว
หมายถึง[กฺริ้ว] (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ในบทกลอนโบราณใช้ในที่สามัญก็มี เช่น ฝูงมหาชนท้งงหลายกริ้วโกรธ. (ม. คำหลวง ชูชก).
ห้าม
หมายถึงก. ให้เว้นกระทำ, ไม่ให้ทำตามที่กำหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม.
กามโรค
หมายถึงน. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกันโดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
สูงสุดสอย,สูงสุดเอื้อม
หมายถึง(สำ) ว. สูงเกินกว่าที่จะสอยหรือเอื้อมได้, โดยปริยายใช้หมายถึงหญิงสูงศักดิ์ที่ยากเกินกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเอามาเป็นภรรยาได้.
บุริมสิทธิ
หมายถึง[บุริมมะสิด] (กฎ) น. สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ.
มหาอุปราช
หมายถึง[มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด] (โบ) น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.
หูป่าตาเถื่อน
หมายถึงว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
ทรวง
หมายถึง[ซวง] น. อก, ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อก เป็น ทรวงอก, โดยมากใช้ในบทกลอน, ที่ใช้เป็นสามัญก็มีบ้าง เช่น เย็นทรวง. (ข. ทฺรูง).
พุทธ,พุทธ-,พุทธะ
หมายถึง[พุด, พุดทะ-] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
หน้าร่าหุ์,หน้าราหู
หมายถึงน. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.
อิทธิปาฏิหาริย์
หมายถึงน. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
เจ้าสังกัด
หมายถึงน. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.