ค้นเจอ 57 รายการ

นางสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.

นางแต่งตัวสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.

กราย

หมายถึง[กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคำ กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.

กาษา,กาสา,กาสา

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตำราทำนายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).

สาวสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ นางสะ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสาวรุ่น.

เคร่งครัด

หมายถึง[-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.

นวม

หมายถึงน. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการเสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มีนวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วยไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.

ผืน

หมายถึงน. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนังหรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกำหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนัง เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ผ้า ๓ ผืน เสื่อ ๒ ผืน; เรียกแผ่นดินทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ผืนแผ่นดิน แผ่นดินผืนนี้ ที่ดินผืนนั้น.

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ