ตัวกรองผลการค้นหา
เตร็ดเตร่,เตร็ดเตรน
หมายถึง[เตฺร็ดเตฺร่, เตฺร็ดเตฺรน] ก. เที่ยวไปไม่อยู่เป็นที่ เช่น ที่โฉมนางพญาเตร็ดเตรนตระเวนเวหา. (ม. คำหลวง มัทรี).
ร่ำร้อง
หมายถึงก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
คฤหา
หมายถึง(กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่าน นะพ่อ. (โลกนิติ).
หัวหกก้นขวิด
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตามความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
เตรน
หมายถึง[เตฺรน] (กลอน) ก. เตร็ดเตร่ เช่น เที่ยวเตรนตระเวนหาคู่. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ประสาร
หมายถึง(แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า เที่ยวไป; ป. ปสาร).
ปิกนิก
หมายถึงน. การพากันไปเที่ยวชั่วระยะเวลาสั้น ๆ และมีของกินไปเลี้ยงกันด้วย. (อ. picnic).
เสียแผน
หมายถึงก. ผิดไปจากแผนการที่วางไว้ เช่น วางแผนจะไปเที่ยว แต่ฝนตกหนักจนไปไม่ได้ เลยเสียแผนหมด.
เตริง
หมายถึง[เตฺริง] (กลอน) ก. เจิ่ง, เหลิง, เช่น กระทิงเที่ยวเตริงพนาลี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
จรดล
หมายถึง[จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
ช่ำ
หมายถึงว. มากพอแก่ความต้องการจนสมอยาก เช่น เที่ยวเสียชํ่า กินเสียชํ่า.
วิภัตติ
หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).