ตัวกรองผลการค้นหา
เจษฎา
หมายถึง[เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารำ; กรรม, การทำด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทำ, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
เร่า,เร่า ๆ
หมายถึงว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความโกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
กระช้อยนางรำ
หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรำ ช้อยช่างรำ หรือ นางรำ ก็เรียก.
คู่ชัก
หมายถึงน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
เสมอ
หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.
สะเทือน,สะเทื้อน
หมายถึงก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า.
อกแตก
หมายถึงว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลำนํ้าหรือทางผ่ากลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความรู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
ยอ
หมายถึงก. กล่าวคำเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
ดิ้น
หมายถึงก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คำพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคำว่า ดิ้นไม่หลุด.
กระเทือน
หมายถึงก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
งอม
หมายถึงว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลมใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดยปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทำงานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
เต็ม
หมายถึงว. มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, ไม่พร่อง, เช่น นํ้าเต็มโอ่ง คนเต็ม; ดาษดื่น, มีอยู่ทั่วไป, เช่น เต็มบ้านเต็มเมือง เต็มตลาด; เปี่ยม เช่น เต็มฝั่ง เต็มตลิ่ง; สุดขีด, เต็มที่, เช่น ตะโกนเต็มเสียง วิ่งเต็มฝีเท้า; ถ้าใช้ประกอบหน้ากริยา หมายความว่า แทบไม่ไหว เช่น เต็มกิน เต็มทน เต็มสู้.