ตัวกรองผลการค้นหา
กลไฟ
หมายถึง[กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
กักตุน
หมายถึงก. เก็บสินค้าไว้เป็นจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร, ตุน ก็ว่า. (กฎ) น. มีโภคภัณฑ์ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้จ่ายส่วนตัว และไม่นำออกจำหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ
ใส่
หมายถึงก. สวม เช่น ใส่เสื้อ ใส่กางเกง, เอาไว้ข้างในภาชนะหรือสถานที่เป็นต้น เช่น กรอกน้ำใส่ขวด นำนักโทษไปใส่คุก, บรรทุก เช่น เอาสินค้าใส่รถ.
ผู้ประกอบธุรกิจ
หมายถึง(กฎ) น. ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย.
กุดัง
หมายถึง(ปาก) น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, โกดัง ก็เรียก; เรียกรถบรรทุกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า รถกุดัง. (ม. gudang ว่า โรงงาน, โรงเก็บของ, ร้านขายของ).
บัตรเครดิต
หมายถึงน. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือธุรกิจที่รับบัตรนั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
ภาษีสรรพสามิต
หมายถึง[-สับพะ-, -สันพะ-] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
เมืองท่า
หมายถึงน. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทำเลหรือถิ่นที่จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
สอบ
หมายถึงก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
ถีบตัว
หมายถึงก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจนถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
ทุ่มตลาด
หมายถึงก. นำสินค้าจำนวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติ; (กฎ) นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
โฆษณา
หมายถึง[โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. (ส.; ป. โฆสนา).