ตัวกรองผลการค้นหา
จระนำ
หมายถึง[จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).
จระบาน
หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. สู้รบ.
จราจร
หมายถึง[จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
จราว
หมายถึง[จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คำหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว ๔).
จริง,จริง ๆ
หมายถึง[จิง] ว. แน่ เช่น ทำจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.
จริงจัง
หมายถึงว. แน่แท้ เช่น เชื่อถืออย่างจริงจัง, ไม่เป็นการเล่น เช่น ทำงานอย่างจริงจัง.
จริงใจ
หมายถึงว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ.
จริต
หมายถึง[จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
จริยวัตร,จริยาวัตร
หมายถึงน. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
จริยศึกษา
หมายถึงน. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education).
จรึง
หมายถึง[จะ-] (กลอน) ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. (ดุษฎีสังเวย).
จรุก
หมายถึง[จะหฺรุก] (แบบ) น. หมู. (จินดามณี). (ข. ชฺรูก).