ค้นเจอ 91 รายการ

คอมมานโด

หมายถึงน. ทหารหรือตำรวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ, หน่วยรบเฉพาะกิจ. (อ. commando).

ลูกแถว

หมายถึงน. เรียกพลทหารพลตำรวจเป็นต้น เช่น เรียกลูกแถวมาฝึก; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นลูกน้องเขา ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะสั่งการใด ๆ ได้เลย เช่น มีแต่พวกลูกแถวเท่านั้นจะช่วยอะไรได้.

จ่า

หมายถึงน. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตำรวจชั้นประทวน เช่น จ่าตรี จ่าสิบตำรวจ, บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก เช่น จ่าแผลงฤทธิรอนราญ จ่าเร่งงานรัดรุด, ตำแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง เช่น จ่าศาล; การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงตํ่า.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ.

หลุดมือ

หมายถึงก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่าสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลาไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.

กิ่ง

หมายถึงน. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยกออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอำเภอ กิ่งสถานีตำรวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่งในกระบวนพยุหยาตรา.

สายยงยศ

หมายถึงน. สายที่ข้าราชการทหารหรือตำรวจใช้เพื่อแสดงสถานะ มี ๓ ชนิด ได้แก่ สายยงยศราชองครักษ์ สายยงยศเสนาธิการ และสายยงยศนายทหารคนสนิท.

โขลน

หมายถึง[โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตำรวจ; ตำแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).

สำทับ

หมายถึงก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.

ไพล่หลัง

หมายถึงก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่หลัง, เอามือ ๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอามือไพล่หลังในเวลายืนรับเสด็จ.

นครบาล

หมายถึง[นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับเหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.

ละม่อม

หมายถึงว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ