ตัวกรองผลการค้นหา
เดียงสา
หมายถึงว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา.
อินัง,อินังขังขอบ
หมายถึงก. เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นำพา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่.
หยุดหย่อน
หมายถึงว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน คือ ทำงานไม่เว้นระยะ.
ข้องแวะ
หมายถึงก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยคที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
เข้าเรื่อง
หมายถึงว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง.
เอ็ด
หมายถึงก. ทำเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
ถือสา
หมายถึงก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่น เรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา.
รับคำ
หมายถึงก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับปาก เป็น รับปากรับคำ.
รับรู้
หมายถึงก. ยืนยันว่ารู้, รับว่ารู้; รับผิดชอบ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ลูกไปทำผิด พ่อแม่จะไม่รับรู้ได้อย่างไร.
ไม่
หมายถึงว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
สีสา
หมายถึง(ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.
ก้มหัว
หมายถึงก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.