ค้นเจอ 73 รายการ

กำลังช้างเผือก

หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Hiptage วงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด H. bengalensis Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด H. candicans Hook.f. เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.

กระถิน

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินยักษ์ หรือ สะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา; ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae เช่น กระถินพิมาน (A. tomentosa Willd.).

กระยา

หมายถึงน. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).

กระดังงา

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga odorata (Lam.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ ดอกใช้กลั่นนํ้ามันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบมลายู canaga, kananga); พรรณไม้ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็นไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [Cananga odorata Hook.f. et Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair].

ป่าน

หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็นใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทำเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis L.) ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทำด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยังไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่งที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.

กาด

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล บางชนิดใช้ใบ บางชนิดใช้หัวเป็นผัก เช่น ผักกาดกวางตุ้ง (Brassica chinensis Jusl.) ผักกาดขม หรือ ผักกาดเขียว (B. juncea Czern. et Coss.) ผักกาดขาว หรือ แป๊ะช่าย (B. chinensis Jusl. var. pekinensis Rupr.) ผักกาดหัว หรือ ไช้เท้า (Raphanus sativus L.) ในวงศ์ Cruciferae, ผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) ในวงศ์ Compositae, ผักเหล่านี้เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร.

ไน

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลาอาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.

กรด

หมายถึง[กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).

หนอนตายหยาก

หมายถึงน. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ชนิด S. collinsae Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก; ชนิด S. tuberosa Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียด หรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและทำยาพอกแผลกำจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Clitoria macrophylla Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิดแรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.

ปรง

หมายถึงน. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลำต้นกลม สีดำขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทำพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).

มะกล่ำ

หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้าง หรือ มะกลํ่าต้น (Adenanthera pavonina L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดง ใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น; มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (Abrus precatorius L.) เป็นไม้เถา ฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดำ มีพิษ รากและใบใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (A. fruticolosus Wall. ex Wight et Arnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.

ชะเอม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum. ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทำยา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ (G. uralensis Fish.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ